
ธรรมชาติในการเรียนรู้ของมนุษย์ ถือกำเนิดมาจากการรับรู้ ซึ่งมีการตีความมาจากความรู้สึก ซึ่งได้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว จากอวัยวะรับการสัมผัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘เครื่องรับ’ ได้แก่…
อวัยวะรับสัมผัสภายนอกของมนุษย์ ประกอบด้วย…
- ตา – มองเห็น
- หู – ได้ยิน
- จมูก – ดมกลิ่น
- ลิ้น – ชิมรส
- กาย – สัมผัสทางกาย
อวัยวะรับสัมผัสภายนอกของมนุษย์ ประกอบด้วย…
- สัมผัส อันมีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ทำให้มนุษย์ทราบการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมนุษย์สามารถรับรู้ได้ จากการอาศัยประสาทสัมผัสภายในกล้ามเนื้อ , เอ็นข้อต่อ รวมทั้งกระดูก
- สัมผัสการทรงตัว ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้เกี่ยวกับการทรงตัวได้อย่างเฉียบคม ซึ่งมนุษย์สามารถรับรู้ได้จากการสัมผัสนี้ ด้วยอวัยวะสัมผัสซึ่งอยู่ภายในช่องหูด้านใน
- เมื่ออวัยวะทั้งหมดเหล่านี้ ได้สัมผัสกระทบกับสิ่งเร้า ซึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมจากภายนอก ก็จะส่งความรู้สึกไปยังสมอง และสมองจะทำหน้าที่แปลสัมผัส หลังจากนั้นก็จะส่งต่อไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางด้านกระบวนการไฟฟ้าและเคมี เพื่อให้สมองรับสามารถรับรู้ถึงพฤติกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กที่ยังไม่ประสีประสา มองเห็นเปลวเทียนมีแสงสว่างไสว โชกช่วง ขึ้นมา เด็กก็จะคลานเข้าไปหา พร้อมเอื้อมมือจับเปลวเทียน มือ ซึ่งก็คือกายสัมผัส ได้สัมผัสไฟ และดวงตา หรือ จักษุสัมผัส ที่มองเห็นเปลวเทียนสว่างวาบขึ้นมา ก็จะส่งความรู้สึกนั้นไปยังสมอง รวมทั้งระบบประสาทต่างๆ ที่จะทำให้เด็กนั้นรับรู้ได้ว่า เปลวไฟมีทั้งความร้อนและแสงสว่าง ในเวลาเดียวกัน
หลังจากนั้น มนุษย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ อันเป็นกระบวนการ ต่อเนื่องมาจากการรับรู้ เมื่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นได้ไปกระทบกับสิ่งเร้า และก่อให้เกิดการรับรู้ โดยถ้าการรับรู้ หรือความรู้สึกนั้น เกิดแบบผ่านๆไปโดยที่ไม่ได้บันทึกความทรงจำ การรับรู้นั้นก็จะถือว่ายังไม่ได้ก่อให้เกิดประสบการณ์อันใด แต่ถ้าสมองของคุณ ได้รับการบันทึกไว้เป็นประสบการณ์ เมื่อประสาทสัมผัสเกิดการกระทบต่อสิ่งเร้าเดิมอีก ก็จะทำให้เกิดความมีสติระลึกได้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
การที่มนุษย์จะสามารถรับรู้ ตลอดจนสามารถพัฒนาจนกลายเป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ได้หรือไม่นั้น ล้วนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่…
- สติปัญญา ผู้มีสติปัญญาสูงกว่า สามารถรับรู้สัมผัสต่างๆได้ดีกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ำกว่า
- จากการสังเกต จึงทำให้พบว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญ รวมทั้งความสนใจที่มีต่อสิ่งเร้า
- ทางด้านคุณภาพของจิตใน ณ ขณะนั้น ถ้ามนุษย์มีความเหนื่อยล้า , เครียด หรือ มีอารมณ์ขุ่นมัว อาจทำให้แปลความหมายที่สัมผัสได้ไม่ดี หากแต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสภาพจิตใจ เบาสบาย ผ่องใส ก็จะทำให้การรับรู้เป็นไปด้วยดี